5 myths about the Paris Climate Agreement

PARIS CLIMATE AGREEMENT:

การประกาศถอนตัว ในข้อตกลงของฝรั่งเศส (Paris Climate Agreement) ในการรณรงค์ให้ประเทศยักษ์ใหญ่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ของประธานาธิบดี นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าประเทศสหรัฐอเมริกาจะไม่เข้าร่วมอีกต่อไปนั้น กำลังเป็นประเด็นร้อนระอุทั้งในแง่การตัดสินใจของทรัมป์และการค้นหารายละเอียดของข้อตกลงดังกล่าว

โดยประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา หรือ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ได้แถลงการณ์ถึงกรณีที่ตัดสินใจไม่เข้าร่วมข้อตกลงดังกล่าว ด้วยเหตุผลเกี่ยวกับภาระทางเศรษฐกิจ และเล็งเห็นว่าประเทศสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน มีประสิทธิภาพเพียงพอในการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากอุตสาหกรรมพลังงาน และมองว่าข้อตกลงดังกล่าว เอื้อผลประโยชน์ให้กับประเทศอื่น โดยเฉพาะจีนและอินเดีย จึงเป็นกระแสฮือฮาถึงรายละเอียดและประสิทธิภาพของข้อตกลงดังกล่าว

 

 

 

ในโอกาสนี้ ทางฝรั่งเศสได้ออกมาชี้แจง ความจริงของข้อตกลงฯ  5 ข้อ ดังกล่าว บนสื่อออนไลน์แบบเข้าใจง่าย ดังนี้

-1- ข้อตกลงปารีสจะส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม: ไม่จริง

  • เป้าหมายของข้อตกลง คือเน้นให้เกิดการเพิ่มพื้นที่สีเขียวและพัฒนาโครงการต่างๆในด้านเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) มากขึ้น ทั้งนี้ในส่วนขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา OECD การรณรงค์เคลื่อนไหวทางสิ่งเเวดล้อมก็จะทำให้กลุ่มประเทศ G20 มีอัตรา GDP เพิ่มขึ้น 2.8% ภายในปี 2593 และทำให้อัตราำนักงานในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับพลังงานทางเลือกเพิ่มสูงขึ้นจากเดิม 8.3 ล้านคน ถึง 9.98 ล้านคนในปี 2559

-2- มีแต่ประเทศยักษ์ใหญ่เข้าร่วมข้อตกลงนี้: ไม่จริง

  • ข้อตกลงปารีสนั้นมีความยืดหยุ่นและเท่าเทียม ดังนั้นไม่ว่าประเทศใดก็มีสิทธิในการเข้าร่วมข้อตกลงปารีสได้ ซึ่งประเทศที่มีการผลิตพลังงานสูงเป็นอันดับต้นๆของโลกอย่าง จีนและอินเดีย ก็ได้เข้าร่วมข้อตกลงดังกล่าวอย่างเป็นทางการแล้ว เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและผลกระทบที่เกิดจากภาวะโลกร้อนอย่างจริงจัง โดยประเทศจีนนั้นได้ร่วมทำข้อตกลงตั้งแต่ปี 2558 แล้ว

-3- ข้อตกลงปารีสจะบ่อนทำลายแนวคิดว่าด้วยอำนาจอธิปไตย: ไม่จริง

  • ในข้อตกลงดังกล่าว จะให้อิสระในวิธีจัดการของแต่ละประเทศตามความเหมาะสม แต่ต้องอยู่ภายใต้เป้าหมายของข้อตกลง โดยที่แต่ละประเทศจะมีการทำสัญญาข้อตกลงขึ้นมาด้วยตัวเอง ที่มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับกรอบของข้อตกลง โดยจะไม่มีข้อจำกัดหรือการบังคับใช้กฎของปารีสมาเป็นที่ตั้ง

-4- ข้อตกลงปารีสไม่มีข้อผูกพันทางกฎหมาย: ไม่จริง

  • ข้อตกลงปารีส เป็นสนธิสัญญา สหประชาชาติ ซึ่งจะมีผลทางกฎหมายของแต่ละประเทศที่ยอมรับข้อตกลงนี้ ซึ่งเป็นการบังคับใช้สำหรับเมืองปารีส รวมไปถึงเป็นข้อผูกพันจากความพยายามในระยะยาว และข้อผูกพันเกี่ยวกับความชัดเจนและความโปร่งใสของการนำเสนอความสำเร็จของความพยายามในข้อตกลงดังกล่าว

-5- ประเทศที่พัฒนาแล้วเท่านั้น ที่จะเป็นผู้ให้การสนับสนุนทางการเงินของข้อตกลงปารีส: ไม่จริง

  • ทุกๆประเทศสามารถเป็นให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ข้อตกลงปารีสได้ ทั้งผ่านกองทุนพหุภาคี เช่น Green Climate Fund หรือผ่านการช่วยเหลือทางการเงินแบบทวิภาคี ซึ่งในความเป็นจริง ประเทศที่กำลังพัฒนาหลายประเทศ ต่างก็มีส่วนช่วยสนับสนุนด้านการลดภาวะก๊าซเรือนกระจกอยู่ในปัจจุบัน เช่น ชิลี โคลัมเบีย และเม็กซิโก นอกจากนี้ ประเทศจีนเองก็ได้ประกาศบริจาค 3 พันล้านเหรียญผ่านกองทุนความร่วมมือ South-South

จากการออกมาตอบโต้ถึงความโปร่งใสของข้อตกลงปารีสจากฝ่ายฝรั่งเศสดังกล่าว เมื่อเกิดการพาดพิงถึงความไม่เสมอภาคของประเทศสมาชิกของข้อตกลงฉบับนี้ จะสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ได้หรือไม่นั้น อาจจะต้องคอยจับตาดูกันต่อไป และยังต้องรอดูต่อไปอีกว่า สหรัฐอเมริกาฯ จะหันกลับมาเข้าร่วมสนธิสัญญาตามที่มีกระแสเรียกร้องจาก ทั้งในและนอกประเทศตนดังเดิมหรือไม่

 

credit: http://www.diplomatie.gouv.fr